ทำดีร้อยครั้งไม่มีคนจำ ทำไม่ดีเพียงครั้งเดียว คนจำไม่ลืม

วันนี้เราอย ากที่จะพาเพื่อนๆ ไปเรียนรู้ข้อคิดการใช้ชีวิต กับบทความ ทำดีร้อยครั้งไม่มีคนจำ ทำไม่ดีเพียงครั้งเดียว คนจำไม่ลืม ไปดูกันว่าทำไม่คนถึงชอบจำในสิ่งที่ไม่ดี

สังคมจ้องจับผิด สิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมปัจจุบัน ในห้องเรียนแห่งหนึ่ง ครูกำลังสอนหนังสือนักเรียน โดยเริ่มต้นเขียนสูตรคูรแม่ 9 ลงไปในกระดาน

9 x 1 = 7 ( จริงๆ แล้ว 9 x 1 = 9 )

9 x 2 = 18

9 x 3 = 27

9 x 4 = 36

ครูได้เขียนสูตรคูณจนถึง 9 x 10 = 90

เมื่อครูเขียนสูตรคูณบนกระดานเสร็จ นักเรียนต่างหัวเราะเยาะครู แล้วต่างพากันตำหนิครู เพราะเขียนสูตรคูณบรรทัดแรกผิด ครูจึงพูดกับนักเรียนขึ้นว่า ‘ ครูตั้งใจเขียนผิด เพื่อต้องการให้พวกเธอเรียนรู้สิ่งสำคัญประการหนึ่ง ที่โลกภายนอ กจะปฏิบัติกับพวกเธอ เมื่อเธอทำผิด ‘ เห็นไหมว่า ครูเขียนผิดแค่ครั้งแรก แต่ครูเขียนสูตรถูกต้องตั้ง 9 ครั้ง ไม่มีใครชื่นชมครูที่เขียนถูก 9 ครั้ง หรือ ตักเตือนในสิ่งที่ทำผิดด้วยความห่วงใย ทักท้วงด้วยคำพูดที่ถนอมน้ำใจ หรือ ปลอบโยนเมื่อผิดพลาด ตรงกันข้าม พวกเธอ กลับหัวเราะเยาะ และ ตัดสินครูแค่ที่เขียนผิดเพียงครั้งเดียว นี่คือบทเรียนที่เธอได้รับในวันนี้ และ จะได้นำไปเผชิญในชีวิตจริง

โลกนี้ไม่ได้ชื่นชม หรือ สนใจสิ่งดีๆ ที่คุณทำมานับล้านอย่ าง แต่ตัดสินคนจากการทำผิดเพียงครั้งเดียว เมื่อใดก็ต ามที่เธอทำผิด เธอจะเจอคำพูดแย่ๆ ที่ถาโถมเข้ามาในชีวิตคุณ จากทุกทิศทุกทาง แต่นั่นคือสิ่งที่คนอื่นกำลังมองพวกเธอ ทุกคนพย าย ามที่จะทำเป็นไม่รู้ ไม่เห็น ความดีที่เธอทำ และ จ้องแต่จะจับผิด อาจจะเพื่อให้ตัวเองดูดีขึ้น เพื่อให้ตัวเขาเองรู้สึกผิดน้อยลง ปกปิดความผิดตัวเองในเรื่องอื่นๆ ด้วยการเผยความผิดคนอื่น ก็สุดแล้วแต่

เมื่อเธอทำพลาดเมื่อไร ก็มักจะมีคนคอยมาซ้ำเติมเสมอ เมื่อเธอเรียนจบไป และเริ่มเข้าทำงาน เธอจะได้พบเจอสังคมแบบนี้ สังคมแห่งการจ้องจับผิด เจอจนรู้สึกว่าเป็นเรื่องปกติ ครูจึงอย ากให้พวกเธอทุกคนจำบทเรียนครั้งนี้เอาไว้ให้จงดี เราทำผิด ทำถูก เรารู้อยู่แก่ใจเราดี สิ่งไหนที่มันถูก สิ่งไหนที่มันมันดี ไม่เดือ ดร้อนคนอื่น เราก็ควรพย าย ามตั้งใจทำต่อไป อย่ าไปสนใจว่าคนอื่นจะว่ายังไง เพราะคนส่วนใหญ่ในสังคมพย าย ามจะเหยียบย่ำผู้อื่นให้ต่ำลง เพื่อ ดึงให้ตัวเองดูสูงขึ้นเสมอ นี่คือสิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมเราทุกวันนี้ สังคมแห่งการจ้องจับผิด เพื่อเหยียบย่ำผู้อื่นให้ต่ำลง

ที่มา dhammasawatdee